เป็นพรหม


  พระพุทธองค์ตรัสว่า...“ บุคคลในโลกนี้ตั้งความปรารถนาว่า   โอหนอ  หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิดร่วมกับเทวดาชั้นพรหม  เขาตั้งจิตนั้น  อธิษฐานจิตนั้น  เจริญจิตนั้นอยู่  จิตองเขาโน้มไปทางต่ำ    เจริญให้ยิ่งขึ้นไปไม่ได้ จะไปเกิดร่วมกับเทวดาชั้นพรหม     ภิกษุทั้งหลายเรากล่าวไว้สำหรับผู้มีศีล     ไม่ใช่ทุศีล      สำหรับผู้ปราศจากราคะ   ไม่ใช่ผู้มีราคะ ”
      ผู้ที่เลือกเป็นพรหมจะต้องถือศีล   แล้วก็บำเพ็ญสมถะกรรมฐานทั้ง  ๔๐  อย่าง   ไม่ว่าสายไหนลงเอยที่เดียวกัน  คือ    ปฐมฌาณ  ,ทุติยะฌาณ  ,ตะติยะฌาณ  ,จตุตถะฌาณ คือ ฌาณที่อาศัยรูปในการฝึก  เรียกว่า  รูปฌาณ  ผู้ที่สำเร็จแต่ละอย่างจะลดหลั่นกันไปตามกำลังแห่งฌาณของบุคคล  ความละเอียดของจิต  มีอยู่   ๑๖   ชั้น  เรียกว่า    รูปพรหม    การปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้เข้าถึงได้นั้น  มีองค์ประกอบหลายอย่าง ผู้เขียนจึงไม่เขียนไว้ จะเขียนเฉพาะโครงสร้างไว้ให้เข้าใจ บุคคลที่ฝึกจิตต่างๆ ล้วนฝึกมาแตกต่างกันไปตามอารมณ์แห่งจิตนั้น  แตกต่างกันไปตามกำลังแห่งสมถะกรรมฐาน   ๔๐  อย่าง  ประกอบด้วย
            กสิน  ๑๐                           อรูปฌาณ                             พรหมวิหารธรรม 
            อสุภะ  ๑๐                          อาหารปฏิกูลสัญญา 
            อนุสติ  ๑๐                          จตุธาตุวัฏฐาน 
           รวมกรรมฐานทั้งหมดเป็น  ๔๐  กอง  ซึ่งมีอาจารย์ต่างๆ สอนไว้แล้ว  หรือจะหาศึกษาเพิ่มเติมจากคำภีร์ต่างๆ ล้วนมีอยู่มากมาย  เมื่อสำเร็จจากจตุตถะฌาณแล้วก็ทั้งรูปฌาณ  หันมาฝึกฌาณที่ไม่อาศัยรูป     เรียกว่า      อรูปฌาณ    มีอยู่ ๔ ขั้นคือ 
๑.  อากาสานัญจายตะนะ  (  เพ่งอากาศเป็นอารมณ์  )
๒.  วิญญาณนัญจายตะนะ  (  เพ่งวิญญาณเป็นอารมณ์  )
๓.  อากิจจัญยายตะนะ  (  เพ่งความไม่มีอะไรเป็นอารมณ์  )
๔.  เนวสัญญานาสัญญายตะนะ  (  เพ่งความไม่มีสัญญาหรือความจำหมายรู้เป็นอารมณ์  )
  เรียกว่า  อรูปพรหม มีอยู่    ขั้น
   การเลือกเป็นพรหมนั้นไม่จำกัดเพียงในพุทธศาสนา คือ  เป็นฤาษี  นักบวชต่างๆ ก็เป็นได้ คำว่าฌาณนั้นแปลอีกอย่างหนึ่งว่า สภาวะจิตไปยึดสิ่งต่างๆ เพื่อเป็นอารมณ์  ให้คงที่     เมื่อฌาณที่ได้เสื่อมถอยก็ต้องลงมาเกิดแล้วแต่กรรมดีเลวที่ส่งผล   อายุของพรหมนั้นนานมาก แต่ก็ต้องเสื่อมไม่คงที่เหมือนท้าวผกาพรหมที่อธิบายไว้แล้ว  ผู้ฝึกจิตต่างๆ มีมากมาย    บ้างก็เข้าใจผิดคิดว่า นี่คือการบรรลุมรรคผล    อารมณ์แห่งปฐมฌาณนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้หลงทางได้ง่ายๆ  พุทธองค์ไม่ได้ตรัสว่า   สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งประเสริฐหรือเป็นแก่นแท้ของพระศาสนา  พระพุทธองค์เปรียบสิ่งต่างๆ ไว้ดังนี้
             ต้นไม้    ต้น  คือ  องค์ประกอบของพระศาสนา
   -   คำภีร์พระไตรปิฎกทั้ง  ๘๔,๐๐๐  พระธรรมขันธ์   พระพุทธองค์เปรียบ      กิ่ง  ใบ
   -   ศีลทั้งหลาย   ศีล    , ๑๐ , ๒๒๗ ,  ๓๑๑  ข้อ พระพุทธองค์เปรียบ สะเก็ด
   -  สมาธิ  สมถะ  วิปัสสนา  ได้ฌาณ     สมาบัติ     พุทธองค์เปรียบ  เปลือก
   -  สมาธิ  สมถะ วิปัสสนา สำเร็จฤทธิ์  พุทธองค์เปรียบ  กระพี้ในเปลือก
   -  หลุดพ้นด้วยญาณทัศนะ     พุทธองค์เปรียบ  แก่นแห่งพรหมจรรย์
   เมื่อพิจารณาดังนี้จะเข้าใจได้  ถึงแม้ทางแห่งพรหมจะประเสริฐกว่าเทวดา  หรืออยู่สูงกว่า แต่ก็ไม่ใช่ทางหลุดพ้นหรือโสดาบันเข้าสู่กระแสแห่งพระนิพพาน เป็นเพียงสิ่งที่เชื่อมต่อให้เข้าถึงได้ง่าย     ฝึกวิปัสสนาได้ง่าย  สำเร็จได้เร็วกว่าปกติ  หากไม่หลงติดอยู่ ก็จะให้สูงกว่านี้ไปไม่ได้ ต้องใช้ควบคู่กันไป   จึงจะเกิดผลทั้งวิปัสสนาและสมถะ   รวมกันเรียกว่า  “ กรรมฐาน ”  ผู้เข้าใจผิดในการปฏิบัติมีอยู่มาก   สิ่งเหล่านี้เป็นธรรมสำหรับนักปฏิบัติ  ผู้ปฏิบัติจริงเท่านั้นจึงจะเกิดผล  ถ้ามีปัญหาต่างๆ ในขณะฝึกจิต   ส่วนมากจะมีอาจารย์สอน  ให้ถามอาจารย์ต่างๆ จะรู้ได้
    พระพุทธองค์ตรัสว่า ”  สิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่ฐานะที่สตรีจะพึงเป็นได้
  ๑.  อรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า
  ๒.  พระเจ้าจักรพรรดิ
  ๓.  พระอินทร์
  ๔.  มาร
  ๕.  พรหม
   (  ขออธิบายเพิ่มเติมว่า     พรหมนั้นเป็นรูปของจิต      หากจิตไม่ยึดติดในรูป     ถ้าสตรีอยากเป็นกตั้งจิตเปลี่ยนรูปเป็นชายก่อน  สำหรับผู้ทรงฌาณนั้น  ไม่ยากเย็นอะไรเลย  )
บทสรุป
      การเลือกเป็นพรหม คือ การรักษาศีลและการฝึกจิต  อารมณ์ของจิตแต่ละอย่างละเอียดมาก  ผู้ปฏิบัตินั้นน้อย  ผู้เขียนจึงอธิบายแค่โครงสร้างให้เข้าใจ   ศึกษาเพิ่มเติมจากคำภีร์ทางจิตต่างๆ มีมาก  ขอให้ตั้งใจจริงเท่านั้น  เสาะแสวงหาคาดว่าคงไม่ยาก   หรือหากมีข้อสงสัยต่างๆ      จะขออธิบายเฉพาะบุคคลที่ถาม  พระพุทธองค์ห้ามไว้ดังนี้จะไม่กล่าวถึง คือ  ว่าด้วยผู้ฉลาด  ๑๒  ประการ

     ๑.ผู้ฉลาดในขันธ์   ขันธ์                                               ๗.ผู้ฉลาดในอิทธิบาท 
        ๒.ผู้ฉลาดในธาตุ                                               ๘.ผู้ฉลาดในอินทรีย์ ๕
       ๓.ผู้ฉลาดในอายตนะ                                                    ๙.  ผู้ฉลาดในอิทธิบาท 
       ๔.  ผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท                                 ๑๐.  ผู้ฉลาดในพละ 
        ๕.  ผู้ฉลาดในสติปัฏตยฐาน                                 ๑๑.  ผู้ฉลาดในมรรคผล
      ๖.  ผู้ฉลาดในสัมมัปปธาน                                   ๑๒.  ผู้ฉลาดในนิพพาน
       ความฉลาดเหล่านี้ ไม่มีใครถามก็บอกโอ้อวดตน  ไม่มีอริยะธรรม  ผู้สงบดับกิเลสแล้วไม่โอ้อวดในศีลทั้งหลายว่า  เราเป็นดังนี้     มีผู้ถามและอธิบายให้เข้าใจ    ไม่โอ้อวดตน     อนึ่งภิกษุไม่มีกิเลสเครื่องฟูในที่ไหนๆ ในโลก    ผู้ฉลาด เรียกว่า  ผู้มีอริยะธรรม  จึงอธิบายได้เพียงเท่านี้
ข้อคิด  พิจารณาดูตัวเองว่าเป็นพรหมหรือเปล่า  หากตอบว่า  เราคือ พรหม  คุณคือ พรหมเดินดิน