การปฎิบัติธรรมแนวใหม่

    การปฏิบัติธรรม
     ในการปฏิบัติธรรมนั้นต้องศึกษาและหาอาจารย์สอนที่ถูกต้อง  หากเข้าใจเองฝึกเองจะแก้ไขยาก  เพราะเหตุแห่ความไม่รู้จึงฝึกผิดทาง     หากใครมีปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นหรือรู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ให้หยุดก่อน หรือตามผู้รู้ก่อน โลกใบนี้มีผู้รู้มากมาย  อาจารย์ๆ ต่างมีมากมายที่เป็นพระ  อย่าทำเอง  คิดเอง  เพราะโลกแห่งจิตนั้นซับซ้อน  ต้องอ่านศึกษาและปฏิบัติให้ถูกต้องจึงจะเกิดผล  และอย่าเข้าใจผิดหรือลบหลู่ต่างๆ     เป็นอันตรายสำหรับมนุษย์มาก
การฝึกสมาธิผิดทาง  จะเกิดอาการต่างๆ ดังนี้
๑.    สัญญาวิปลาส  คือ    ความทรงจำว่าตัวเองเป็นโน่นเป็นนี่มา
๒.   จิตวิปลาส          คือ   ควบคุมจิตใจของตัวเองไม่ได้
๓.   อาการวิปลาส     คือ   ดิ้นรน  ทุรนทุรายต่างๆ
    อาจจะมีอาการแตกต่างจากนี้  หรืออาการต่างๆ เป็นขั้นต้น  กลางและรุนแรง     แต่รวมความแล้วก็คือผิดทาง    บุคคลผู้ฝึกสมาธิอยากพ้นทุกข์ต่างๆ ทำผิด    อย่างนี้ จะเป็นอันตราย        หากใครฝึกอยู่แล้วเกิดอาการเหล่านี้  จงหยุด ต้องแก้ไขเกิดอาการเหล่านี้  จงหยุด ต้องแก้ไขให้ถูกจุดก่อน คือ การแก้ที่จุดเกิดเหตุ    อย่างนี้ 
๑.  นั่งในที่มืด   การนั่งในที่มืด  นั้นอันตรายมาก  จิตจะเข้าสู่สภาวะที่ควบคุมไม่ได้        เป็นอันตรายมาก  พระพุทธองค์ยังเคยห้ามพระสารีบุตรไว้  หากบุคคลทั่วไปทำ   ยากนักจะรอด
วิธีแก้ไข  แก้โดยเปิดไฟ หรือจุดเทียน  หากจุดเทียนแล้วเทียนดับ ให้ออกจากสมาธิทันที
๒.  ไม่สวดมนต์ก่อนนั่งสมาธิ      การสวดมนต์ยกบทสวดไหนมาก็ได้     ทำให้จิตมีสิ่งยึดเหนี่ยวได้ทั้งนั้นแล้วแต่บุคคลแตกต่างกันไป  ถ้าคิดอะไรไม่ได้ก็ให้นึกถึงพระพุทธองค์ก่อน หรือ นะโม พุทธายะ ก็ได้ง่ายๆ
๓.  ปฏิบัติจิตเพื่อธรรม   คือ  การสละไม่ใช่การยึดติด  การสละ คือ  การลดกิเลสและความทะยานอยากในใจลง  มิใช่ฝึกเพื่ออยากได้ฤทธิ์  อยากเห็นผี  อยากรู้กรรม  ตามแต่บุคคลที่คิดได้ ฝึกให้ถูกที่  ถูกทาง  ถูกต้อง  ก็ได้เอง  อย่าฝึกและคิดว่าต้องได้แบบนี้  เพราะนี่คือ  อวิชชา  หรือเรียกว่า ความมืด    ยิ่งฝึกยิ่งตกต่ำ
ทั้ง    อย่างนี้  ใครรู้ตัวว่ากำลังทำอยู่จะเป็นอันตรายมาก  แก้ได้แต่ต้องรู้อาการก่อน ( ส่วน ถาม – ตอบ )
     มาถึงตรงการปฏิบัตินี้อาจมีข้อสงสัยว่ารู้จริงไหม  หรือปฏิบัติแบบใด  ใครเป็นอาจารย์หรือผู้สอน    พระอาจารย์ของผม คือ พระพุทธองค์ ผู้เดียว  ผู้เขียนไม่มีอาจารย์ ศึกษาและปฏิบัติเองทั้งหมด     พระไตรปิฎกเป็นผู้สอนและปฏิบัติมาทุกๆ สาย     แม้จะอธิบายมามากมายแต่แค่กิ่งใบ   ในส่วนการปฏิบัตินี้ หากใครไม่ทำก็ไม่เป็นไร  เขียนขึ้นมาเพื่อประโยชน์กับผู้ปฏิบัติจิตต่างๆ หรือใครปฏิบัติแล้วเจอปัญหาต่างๆ จะอธิบายและแยกองค์ประกอบทั้งยาวทั้งสั้นหรือวิธีการตัดสั้น ได้ผลเร็ว   หากถามว่าผู้เขียนรู้ถึงขั้นไหน      ถึงจะมาอธิบายแบบนี้  ผมขอบอกว่าขั้นสูงสุด  คือ รู้ว่าปฏิบัติผิดหรือถูก  สายไหนลงเอยยังไง  แก้ไขตรงไหน  จึงจะข้ามพ้น  คือ เอาง่ายๆ เลย ถามก่อนว่าอยากได้อะไร  พอใจแค่ไหน    อยากไปแดนนิพพานก็จะบอกทางไปหากถามว่าเป็นใคร มาจากไหน  จะเฉลยตอนท้าย  การปฏิบัติทุกๆ สายนั้นมาจากอาจารย์องค์เดียว     คือพระพุทธองค์  ความรู้ของผมเป็นแก่นแท้ไม่แตกสาขาไป   จะอธิบายให้เข้าใจเพื่อผลแห่งการปฏิบัติ     มิใช่เพื่อโอ้อวด  ผมรู้ทั้งต้นกำเนิดการปฏิบัติทุกๆ แบบ  ในกรรมฐาน  ๔๐  อย่างนั้น    ได้มาจากไหนและลงเอยยังไง  สุดทางคืออะไร  จะอธิบายผลคร่าวๆ ให้เข้าใจก่อน
กรรมฐาน  มี    แบบ  คือ
   ๑.  สมถะกรรมฐาน                         ๒.   วิปัสสนากรรมฐาน
สมถะ   คือ  อุบายสงบใจ  หรือคือการยึดสิ่งต่างๆ เพื่อให้จิตทรงตัว  มี
กสิน  ๑๐  
        -   ธาตุ     คือ   ดิน  น้ำ  ลม  ไฟ                          -   แสงสว่าง 
        -   สี      คือ  แดง  ขาว  เหลือง  เขียว                   -   ความว่างเปล่า
 อสุภะ  ๑๐  คือ  การเพ่งซากศพในลักษณะต่างๆ เพื่อเป็นอารมณ์
 อนุสติ  ๑๐  คือ  สติเบื้องต้น
    ๑.   พุทธานุสติ     ๒.   ธัมมานุสติ    ๓.  สังฆานุสติ      ๔.    สีลานุสติ      ๕.    จาคานุสติ
    ๖.   เทวดานุสติ     ๗.   มรณานุสติ   ๘.  กายานุสติ       ๙.   ทานานุสติ    ๑๐.  อาปานาสติ
พรหมวิหารธรรม     คือ  เมตตา   กรุณา  มุทิตา    อุเบกขา
อรูปฌาณ      คือ  อากาสา    วิญญาณ  อากิญจัญญา และ เนวะสัญญา
อาหารปฏิกูลสัญญา   คือ  เพ่งอาหารเพื่อจำได้ว่าไม่ใช่สิ่งที่สวยงาม
จตุธาตุวัฏฐาน    คือ  แยกองค์ประกอบแห่งธาตุ    เปรียบเสมือนกายทุกส่วนมาพิจารณา
  ส่วนสติปัตตยฐาน    ไม่รวมลงในกรรมฐาน  ๔๐  อย่าง เพราะแยกฝึกต่างหาก
     รวมทั้งหมดเรียกว่า สมถะกรรมฐาน  ๔๐  อย่าง  ผู้ฝึกกรรมฐาน  ๔๐  อย่างนี้จะมีฤทธิ์ด้วย คือ  วิชา    อภิญญา ๖  วิชา      สมาบัติ     เรียกไปตามสาขาที่ได้  และในส่วนวิปัสสนามี  ๑๖  ขั้น    หากผสมกับองค์ประกอบใด จะสมบูรณ์  มีการพิจารณาต่างๆ       ไตรลักษณ์    คือ  ทุกขัง  อนิจจัง  อนัตตา      และอริยสัจ       ทุกข์  สมุทัย  นิโรธ  มรรค  และปฏิจฺจสมุปบาท หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความเป็นจริงแห่งโลก  เมื่อพิจารณาจะเข้าใจโลกมากขึ้น      จะลงเอยที่เดียวกัน คือ     พระโสดาบัน     พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์     วิปัสสนาล้วนจะไม่มีฤทธิ์อะไร มีปัญญาเป็นเลิศ  อารมณ์แห่งสมถะทั้ง  ๔๐  อย่าง ที่ไม่ค่อยมีใครสอนแล้วเพราะอันตราย     ต้องอยู่ใกล้อาจารย์ควบคุม ดูแลอย่างใกล้ชิด คือ กสิน ๑๐  อสุภะ  ๑๐  อรูปฌาณ ๔ อาหารปฏิกูลสัญญาและจตุธาตุวัฏฐาน จะไม่ขออธิบาย ยกย่อๆ มาเพื่อให้รู้ หากใครฝึกมาแล้วมีปัญหา ถามมาผมจะตอบให้  แยกอธิบายเป็นส่วนที่ปฏิบัติ
กันมากยุคนี้ คือ
  อาปานาสติ  คือ  การพิจารณาลมหายใจ  หากจะเขียนยาวก็ได้ แต่ให้ย่อให้สั้นที่สุดเพื่อง่าย    ไม่มากไป
ใครแป็นผู้คิดค้นอาปานาสติ พระพุทธองค์ตอนเด็ก นั่งสมาธิ แล้วดูลมหายใจ ของแท้มีเพียง    ขั้น
     ๑.  วิ่งตาม  คือ  ยาวก็รู้ว่ายาว  สั้นก็รู้ว่าสั้น รอบรู้ทั้งสั้นทั้งยาว
     ๒.  ยืนดู  คือ  เมื่อวิ่งตามจนเมื่อยรอบรู้ทั้งหมดแล้ว  ก็ยืนดูอยู่จุดใดจุดหนึ่ง  มองเห็นเข้าบ้างออกบ้าง
     ๓.  รวมให้เป็นหนึ่ง  คือ  ทิ้งการยืนดูจะมีแสงสีขาวปรากฎ ก็จะทิ้งทั้ง   ส่วน      จับแสงสีขาวนั้นเป็น
           อารมณ์  อาจจะมีรูปแบบที่ต่างไปบ้าง แต่เมื่อจับได้แล้ว ย่อให้เล็ก หรือขยายให้เต็มโลกก็ได้   แล้วจะทรงตัวเป็นหนึ่งเดียว  เรียกว่า  ปฐมฌาณ  นี่คือ อาปานาล้วน        หากรวมเอาวิปัสสนาเข้าไปด้วย   คือ พิจารณาการเกิดดับของลมหายใจ  มี  ๑๖  ขั้น  เรียกว่า อาปานาผสมวิปัสสนา
   ผู้มีปัญหาอาปานานั้น คือ ผู้คนที่ฝึกอาปานาแท้และอาปานาผสมไม่เต็มภูมิ แต่จับอย่างอื่นใส่เข้าไปด้วยและเกิดปรากฎการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นกับจิต โดยส่วนมากลมหายใจจะขาดห้วง คือ อยู่ๆ ก็หยุดเหมือนไม่หาย ใจ  ก็ตกใจและกลัวไม่ฝึกต่อเพราะไม่รู้คืออะไร ต้องดูก่อนว่าใส่อะไรเข้าไปด้วย  บางท่านก็อธิบายผิดเพี้ยนไป  ไขความกระจ่างแจ้งไม่ได้  หากไม่รู้จริงๆ ผิดทั้งหมด  หากใครมีปัญหาแบบนี้จะอธิบายเฉพาะส่วนและต้องบอกตรงๆ ว่าทำอะไรมา  แก้ไขแล้วจะไปได้ไวมาก ส่วนมากจะเป็นผู้มีบุญมากและมีปัญญามาก      เป็นของดีและสอนง่าย แค่ไม่รู้ว่าคืออะไรเท่านั้น ไม่ยาก หากถามว่าทำไมถึงรู้  ก็บอกว่าผมลุยมาทั้งหมด ตั้งแต่ ต้นจนจบ  เรียกว่า  สายพิเศษก็ได้  จบเรื่องอาปานาสติไป หากใครมีปัญหาก็มาที่ส่วนถามตอบ  จะแยกให้ฟัง 
สติปัฏฐาน      กาย  เวทนา  จิต  ธรรม 
    สติปัตตยฐาน    นี้  คือ  หัวใจพระศาสนาเป็นเลิศ  ในทุกๆ ด้าน   หากปฏิบัติสมบูรณ์พร้อมในแต่ละขั้นพุทธองค์ตรัสว่า เริ่มตั้งแต่ฝึกจนถึง    วัน    เดือน    ปี ปัญญามาก  ตั้งแต่เริ่มถึง    วัน ปัญญากลาง   เดือน  อย่างน้อยที่สุด    ปี  บรรลุมรรคผล   หากมีศรัทธาแล้วตั้งมั่นฝึกจะพ้นได้ทุกๆ คน  เป็นทางตรงและเป็นหัวใจแห่งการปฏิบัติ  หากมีผู้ปฏิบัติอยู่  พระโสดาบันจนถึงพระอรหันต์จะมีเกิดขึ้นเรื่อยๆ  เป็นการรักษาพระพุทธศาสนา  หากมีท่านผู้ใดฝึกอยู่ ก็ขออนุโมทนาบุญด้วย  เพราะเป็นบุญใหญ่   แต่ส่วนที่มีปัญหา คือ ปฏิบัติไม่เต็มภูมิแต่ละขั้น    หากเต็มภูมิแล้ว จะไม่มีปัญหาอะไร หากจะเขียนแบบบางท่าน  คือ    เล่ม  ก็เขียนได้แต่  ย่อให้สั้นเพื่อเข้าใจง่าย  จะเป็นประโยชน์มากกว่า  แก่นแท้จริงๆ ไม่ใช่ความสละสลวยในภาษา การอธิบายให้ชาวบ้านฟังหรือเดินๆ ไป หากมีชาวนาเข้ามาถามว่าไถนาอยู่ปฏิบัติยังไง  หากใครทำได้  นี่สิถึงจะเรียกว่า ของแท้  หรือเด็กน้อยมาถามว่าผมจะปฏิบัติยังไง       สติปัฏฐาน  ใครอธิบายได้  ถึงระดับนี้ คือ เข้าใจถึงแก่นแท้ปรับใช้กับบุคคลได้ ตามระดับของความรู้หรือปัญญาเรียกว่าจากสูงสุดสู่สามัญ นี่สิถึงถึงจะเรียกว่า “ พุทธบุตร ”  ผมจะแยกให้ผู้ปฏิบัติทั้งหลายรู้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก คือ เนื้อแท้จริงๆ คำว่าเต็มในแต่ละขั้นคืออะไร  หากใครมีปัญหาในแต่ละขั้นค่อยมาถามในส่วนท้ายเล่ม 
 ๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน  คือ  การพิจารณากาย  กายภายนอก กายภายใน ภายนอกคือ อวัยวะ
  ทั้ง  ๓๒  เช่น  แขนขา  ส่วนต่างๆ ของร่างกาย   ภายใน คือ ตับ ปอด  ม้าม    เส้นเลือดใหญ่  เล็ก  อวัยวะภายในทั้งหมด เมื่อพิจารณาแล้วรู้ทั้งภายในภายนอกและรู้ว่ามันไม่เที่ยง คือ เสื่อมถอย เปลี่ยนแปลงตลอดเกิด แก่ เจ็บ ตาย  เคลื่อนไป  หากมันเที่ยงเราต้องไม่แก่ไม่ตาย  จะละความยึดถือในกาย  กิเลสหยาบ   จะอ่อนกำลังลง
 ๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
      เวทนา คือ  ความรู้สึกที่มากระทบ      ภายนอก ๖  คือ  ตา หู  จมูก  ลิ้น  กาย  และใจ  ภายใน ๖  คือ รูป  รส  กลิ่น  เสียง  สัมผัส  และความนึกคิด      เมื่อพิจารณาแล้วรู้ทั้งเวทนาภายในภายนอกและรู้ว่ามันไม่เที่ยงเสื่อมถอย  เปลี่ยนแปลงตลอด  เกิด  แก่  เจ็บ  ตายเคลื่อนไป   หากมันเที่ยงเราต้องไม่แก่ไม่ตาย จะละความยึดถือในเวทนากิเลสอย่างบางจะถูกลดทอนกำลังลง  จนเหมาะกับสมาธิ
๓.  จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    เมื่อทำเต็มภูมิทั้งสองขั้นแล้ว  นิวรณ์    อันมี   ๑.  กามฉันทะ( พอใจในกาม )  ๒.  พยาบาท ( คิดร้าย ) ๓.  ถีนมิทธะ ( ง่วงเซื่องซึม )  ๔.  อุทชัจจะ ( ฟุ้งซ่านรำคาญใจ )  ๕.  วิกิจฉา ( ความลังเลสงสัย )     ซึ่งเป็นตะปูตรึงใจจะถอนออก  จิตจะเข้าสู่สภาวะสมาธิ  ปฐมฌาณจะเกิดขึ้น  และฝึกไปเรื่อยๆ จนถึงจตุตถฌาณและจะไปทางสำเร็จฤทธิ์ ต่างก็ได้     เมื่อจึตเข้าสู่สมาธิขั้นต่างๆ ก็ออกจากสมาธิพอใช้งานได้ จนเหมาะกับธรรม
๔.  ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
     ธรรมทั้งหลายคืออะไร  พิจารณไตรลักษณ์  อริยสัจ        หรือ ปฏิจฺจสมุปบาทผสสานภพ     รวมองค์
ประกอบให้เป็นสิ่งเดียวกัน สำเร็จได้    ทาง คือ
    ๑.  โดยรู้ได้เฉพาะตน  คือ  ควบคุมผัสสะได้เอง แต่อธิบายไม่ได้      จิตจะแยกสิ่งต่างๆ ออกเองเข้าใจทุกสิ่งเข้าใจในภาษาสภาวะต่างๆ ว่าไม่เที่ยงไม่สมควรไปยึดติดก็วางลง เหมือนรู้ตัวว่าหยิบของร้อนอยู่  อาจจะมีคุณลักษณะเฉพาะตนแตกต่างกันไป นี่คือ พุทธบุตร  แบบที่ ๑หรือเรียกว่า แบบปฏิบัติเอง รู้เอง เห็นเอง ไม่โอ้อวด ซึ่งบุคคลทั้งหลายก็คิดว่ามีแบบเดียว แต่ที่จริงแล้ว ยังมีอีกทางหนึ่ง คือ
    ๒.  รู้เพราะปัญญา  คือ  สามารถแยกองค์ประกอบสิ่งต่างๆ ได้ และอธิบายให้ผู้อื่นรู้ตามได้ด้วย    รู้โดยการแยกองค์ประกอบแห่งผัสสะ ทุกสิ่งเกิดมายังไง ลงเอยที่ไหน ดังอธิบายไว้เบื้องต้น    นี่คือ พุทธบุตรแบบที่ ๒ ซึ่งผู้คนคิดว่าไม่มีแล้ว ซึ่งล้วนฟังธรรมจากพระพุทธองค์มาแล้วพิจารณาตามจนเกิดผล   รู้แจ้งแทงตลอดในภพ ชาติ กรรม  หยุดยั้งภพได้ตั้งแต่แดนเกิด  ภพจึงสิ้นเหลือเพียง    ชาติ  คือ  พระโสดาบัน  และบางครั้งจะจบรวบเดียวหรือบางท่านจะปฏิบัติไปเรื่อยๆ จนถึงอรหันต์ผล
   นี่คือสมบูรณ์พร้อม  การกิน เดิน นอน นั่ง  ก็รู้  เมื่อมีสติเป็นอัตโนมัติ  จะหยุดภพชาติต่างๆ ได้ แรกๆ อาจจะไม่ทัน แต่ฝึกไปเรื่อยๆ จะควบคุมผัสสะได้     รู้โดยทางไหนผลก็เหมือนกันคือ    เป็นผู้รู้         ผมเคยอ่านสติปัฏฐานหรือกรรมฐานต่างๆ ที่บางท่านเขียนหรืออาจารย์องค์ต่างๆ ท่านเขียนไว้        ผมก็งงๆ บอกว่ามีสติอยู่กับการ กิน เดิน นอน นั่ง เราก็ทำเป็นประจำทุกวันอยู่แล้วจะตัดภพชาติยังไง  จึงแยกองค์ประกอบให้ บุคคลทั่วไปรู้ว่าสมควรมีสติอยู่กับอะไร   การปฏิบัติแบบที่  ๒ จะไม่สูญหายไปจากโลก ผู้คนทั้งหลายจะได้ไม่เห็นผิด  ว่าพระโสดาบันเป็นของยากแล้วจะสูญสิ้นไป  เพราะแบบที่ ๒ นี้เกิดง่ายกว่าและอธิบายให้ผู้อื่นเกิดปัญญาได้ด้วย  สมควรรักษาไว้  เพื่อผู้ปฏิบัติทั้งหลาย       และแบบที่ ๒ นี้หากมีมากจะเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วย    แบบที่สองนี้แม้แต่อาจารย์ต่างๆ ก็ยังเห็นผิด          ไม่มีใครสอนหรือคือแบบดั้งเดิมที่พระพุทธองค์เป็นผู้สอน     ซึ่งจะยกมาอธิบายเฉพาะส่วนและตัดให้สั้นก็ได้          อธิบายให้ยาวก็ได้ นี่คือ สติปัฏฐาน  ๔ ที่สมบูรณ์ หากสมบูรณ์แล้วแม้แต่ฝึกส่วนใดส่วนหนึ่งก็บรรลุแล้ว แต่ไร้ผู้สอนที่ปรับเข้ากับจริตของบุคคลได้ ซึ่งเป็นเรื่องยากมากที่จะมีผู้ทำได้ถึงระดับนี้  ผู้ที่ฝึกมาไม่สมบูรณ์ในแต่ละขั้น จะมีปัญหาต่างๆ ตามมา คือ หากฝึกต้องแยกฝึกให้สมบูรณ์ในแต่ละส่วนก่อน หากฝึก ๓ ส่วน    จนถึงจิตตาแล้วสติจะเป็นอัตโนมัติ จะนอนไม่หลับ หากจะฝึกรวดเดียวก็ฝึกให้จบไปเลย        ส่วนมากจะเป็นพระผู้ต้องการบรรลุมรรคผล  หากบุคคลทั่วไปปฏิบัติ และมีปัญญามาก จะเกิดอาการต่างๆ ตามมาได้    เพราะเหตุที่สติกับจิตรวมเป็นหนึ่ง   หากมีปัญหาหรือหาทางออกไม่ได้ก็ติดต่อมาได้    ผมจะอธิบายในส่วนต่างๆ ผู้ฝึกถึงระดับนี้แสดงว่ามีบุญบารมีและปัญญามาก่อน  เจอผู้สอนที่ถูกต้องจะให้ผลเร็วมาก      แค่เพียงบอกมาว่าต้องการแค่ไหน ผมจะอธิบายให้รู้ ที่เขียนมาทั้งหมดมิใช่อวดตน       และมิได้ลบหลู่อาจารย์ใดเพียงแต่เพื่อผลของผู้ปฏิบัติมากกว่า ทั้งอาปานาสติและสติปัฏฐาน    นั้น ที่อธิบายมาผู้ฝึกจะรู้เองว่าจริงไหม หากผิดคือผิดอธิบายกว้างๆ เพื่อผู้มีปัญหาต่างๆ หากมีปัญหาอื่นๆ นอกจากนี้ก็ถามมาผมจะตอบให้  รู้คือรู้ ไม่รู้คือไม่รู้
        จะเรียกว่าเป็นแนวใหม่ก็ไม่ถูกนัก     แต่เป็นการแยกองค์ประกอบของการปฏิบัติจิตในแต่ละแบบออกมาดึงเอาหัวใจของการปฏิบัติออกมา  เพื่อผู้ปฏิบัติทั้งหลายปรับใช้กับสภาวะต่างๆ       ตามความต้องการของบุคคลได้ไม่จำกัด  มีคุณลักษณะเฉพาะที่แตกต่างแต่คงรูปเดิมไว้ทั้งกรรมฐาน  ๔๐ อย่าง คือ หัวใจแห่งการปฏิบัติที่สั้นๆ ง่ายๆ ได้ไว  ปรับใช้ได้สูงสุด  จะไปทางไหนแล้วแต่กำลังของบุคคล   หากจะถามว่าได้มายังไงต้องบอกว่าศึกษาจากต้นกำเนิดแห่งการปฏิบัติทุกๆ สาย  ปฏิบัติตามแบบดั้งเดิม    และปรับใช้ตามคำสอนของพระพุทธองค์กก็ได้    การปฏิบัติจริงๆ นั้น  ให้ง่ายที่สุด ได้ไวที่สุด  เห็นผลเร็วที่สุด       จะเป็นประโยชน์มากกว่า      เพราะง่ายจึงปฏิบัติกันมากพ้นไปมาก  เพราะคิดว่ายากจึงพ้นไปน้อย หรือคิดว่าไม่มีแล้ว  พระพุทธองค์ท่านไม่ได้สอนยากอะไร  ง่ายๆ ชาวนา เด็ก กษัตริย์  พราหมณ์ คนใช้  กรรมกร         เรียกว่าอยากปฏิบัติเห็นตำราก็ถอดใจ  ไม่ไหวแล้วมีทางอื่นไหม หรือปฏิบัติสายอื่นไม่ได้    ทดลองปฏิบัติแบบนี้ดูเป็นภูมิความรู้ของผมโดยเฉพาะ  คิดค้นทางออกต่างๆ มาและตัดให้สั้นได้ผลเหมือนกัน         จะเดิน วิ่ง หรือขึ้นรถก็ถึงปลายทางเหมือนกัน       ต้องเข้าใจก่อนว่ากว่าจะได้มาแบบนี้ไม่ใช่ได้มาง่ายๆ และไม่ใช่เพื่ออวดตนว่าเหนือกว่าผู้อื่น  ไม่ปฏิบัติก็ไม่เป็นไร  ท่านทั้งหลายผู้ปฏิบัติทุกๆ ท่านนั้น      หรือปฏิบัติกับอาจารย์ทั้งหลายก็ถือว่าเป็นกุศลมาอยู่แล้ว  แต่ขอเว้นไว้ที่นี่  หากมนุษย์ผู้ใดจะปฏิบัติต้องยอมรับการเป็นอาจารย์ก่อน   ผมเรียกว่ามนต์ปราบมาร   เป็นภูมิความรู้เหนือความรู้ทั่วๆ ไป  และเป็นการปฏิบัติที่รวมเอาคุณลักษณะพิเศษเฉพาะตัวซึ่งเป็นภูมิเฉพาะที่คิดค้นได้เองจึงเขียนไว้           มนุษย์ผู้ใดได้มนต์นี้ไปใช้ จะไปแดนใดก็ได้เรียกว่า หัวใจแห่งทางเลือก  เป็นขั้นของการปฏิบัติ  เหมือนกับวิธีการเลือกเกิดไปในแดนต่างๆ ที่อธิบายมา เป็นความรู้เหนือความรู้ทั่วๆ ไป  มีไว้บอกทางของผู้ปฏิบัติ      มีคุณวิเศษหลายประการและกำหราบมารได้ทุกตัว  ตั้งแต่เบื้องต้น คือ มนต์เลือกเกิด  มนต์ปราบมาร   และมนต์รักษา         มีไว้สำหรับผู้ปฏิบัติ หากไม่ปฏิบัติก็ไม่เกิดผลอะไร มนต์ทั้งหลายเหล่านี้  ผู้รู้ถึงแก่นแท้นั้นมีหนึ่งเดียว  คือ ผู้เขียนเอง เป็นภูมิเฉพาะตัวเกิดมาพร้อมกับการปฏิบัติและมีผู้ปฏิบัติแล้วเกิดผลมาก จึงเขียนไว้เพื่อเป็นทางเลือก   และมีไว้สำหรับช่วยมนุษย์ ไม่ใช่อวดตน  และไม่ใช่สำหรับคนชั่วไร้ศีลธรรม    มีไว้สำหรับช่วยเหลือมนุษย์ที่เห็นคุณค่าเท่านั้น
การปฏิบัติ
      สิ่งที่เริ่มทำ  มีทั้งหมด    ขั้น  ดังนี้
   ๑.จุดเทียน หรือ เปิดไฟ  อยู่ในสถานที่เหมาะสม  ห้องพระ หรือ สถานที่ที่ไม่มีใครรบกวน  หากจุดเทียนถ้าเทียนดับต้องออกจากสมาธิทันที
   ๒.สวดมนต์  บทไหนก็ได้ไม่จำกัด  ชาวพุทธย่อมรู้ดีอยู่แล้ว  ให้จิตมีสิ่งยึดเหนี่ยว
   ๓.ปล่อยสภาวะจิตให้ว่างๆ กลางๆ ไม่คิดอะไร ทั้งการปฏิบัติทุกๆ สายที่ผ่านมา    ให้พิจารณา     สิ่งนี้แทน  คือ 
     ๓.๑  ไตรลักษณ์    อนิจจัง   ทุกขัง  อนัตตา
        -  อนิจจัง  คือ  ทุกสิ่งเคลื่อนที่ เปลี่ยนแปลงตลอด คือ มีเกิด ต้องมี แก่ เจ็บ ตาย พลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก
        -  ทุกขัง  คือ  เมื่อไปหลงยึดติดว่าเป็นตัวตนก็เกิดทุกข์ต่างๆ ตามมา  ทั้งๆ ที่ไม่มีตัวตนเลย
        -  อนัตตา  คือ  เมื่อทั้ง    สิ่ง  เกิดมาก็เห็นว่าทุกสิ่งไม่มีตัวตน  บุคคล  เรา  เขา   บ้าน รถ  ที่ดิน  ลูกหลาน  เงินทอง  ทุกสิ่ง ล้วนไม่มีตัวตน  หากมีตัวตนมันต้องคงที่  แม้แต่กายของเรายังไม่คงที่ คือ   เกิด  แก่ เจ็บ  ตาย  และพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก
     ๓.๒  อริยสัจ   
      ทุกข์   ทุกข์ในโลกนี้เป็นของธรรมดาของโลก    มีพลัดพราก มีสูญเสีย   โลกธรรมทั้ง ๘    ประการนี้ เป็นธรรมดาของโลก  คือ     ได้ลาภ – เสื่อมลาภ      ได้ยศ – เสื่อมยศ      สรรเสริญ – นินทา       สุข – ทุกข์มีใครบ้างในโลก  เกิดมาแล้วไม่พบเจอสิ่งเหล่านี้ ใช่ตัวเราคนเดียว  มองเห็นธรรมชาติทุกๆ สิ่ง เป็นธรรมดาความทุกข์ต่างๆ จะบรรเทาเบาบางลง  จิตดวงรู้เกิดขึ้น  ความทุกข์จะบรรเทา
      สมุทัย     เมื่อความทุกข์เบื้องต้นบรรเทาลง    พิจารณาต่อไป   เหตุทั้งหลายแห่งความทุกข์นั้นเกิดขึ้น เพราะเราไปยึดว่าเป็นของเรา    หากทุกสิ่งเป็นของเราและมันคงที่   ทุกสิ่งต้องไม่เคลื่อนไปแต่นี่ไม่อาจหยุดยั้งได้  แม้กายเรา ยังเกิด แก่ เจ็บ ตาย  แล้วจะมีอะไรในโลกเป็นตัวตนได้
        นิโรธ   เมื่อพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแท้ของทุกสิ่ง  จะเข้าใจชีวิตมากขึ้นจิตจะคลายออก  ซึ่งความยึดถือในสิ่งต่างๆ เหมือนรู้ว่าหยิบของร้อนอยู่  ก็วางลง  เห็นสัจธรรมความจริงแห่งโลกว่าสิ่งต่างๆ นั้น   เกิดจากเหตุสู่ผล  ไร้ตัวตน  บุคคล เรา เขา
        มรรค  คือ ทางเดิน   สัมมาทิฐฐิ    ความเห็นชอบเกิดขึ้น    สัมมาสังกัปปะ    ความดำริชอบก็เกิดขึ้นคือ จะทำแต่ความดีละเว้นความชั่วทั้งปวง  สัมมาวาจา  คือ พูดจาไพเราะอ่อนหวาน  สัมมากัมมันตะ  กระทำชอบ  คือ ใช้ชีวิตทำแต่สิ่งดีๆ สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบก็เกิดขึ้น คือ   ประกอบอาชีพที่ไม่เบียดเบียนใครสัมมาวายามะ คือ พยายามทำแต่ความดี สัมมาสติ คือ มีสติอยู่กับตัว  ไม่หลงทำความชั่ว และสัมมาสมาธิคือ การฝึกสามาธิต่างๆ เพื่อสูงขึ้นไปกว่านี้หรือพอใจแก่สิ่งนี้ก็ได้
        ๓.๓  ปฏิจฺจสมุปบาท 
 คือ  องค์ประกอบของสิ่งต่างๆ ในงานเขียนตรงนี้  ใช้ได้ทั้งหมด  คือ   เหตุทั้งหลาย คืออะไร      มาจากไหน  ถ้าไม่เข้าใจก็กลับไปอ่านในแต่ละหัวข้อให้เข้าใจทั้งหมด    แล้วมองดูจิตใจของตัวเองว่าเกิดอะไรขึ้น     เมื่อผัสสะกระทบ  หากจับได้หรือควบคุมได้    ความทุกข์ทั้งหลาย จะดับสูญ   จะรู้เหตุและผลของสิ่งต่างๆ และตัดจากแดนเกิด คือ ควบคุมผัสสะได้ เมื่อควบคุมได้ จิตดวงรู้ก็จะเกิดขึ้นเอง    จะเหมือนกับสติจะทันผัสสะ หากขาดสติหลงทำความชั่ว สติจะเป็นอัตโนมัติ  จะห้ามทันที  ว่าไม่นะ  อย่าทำ มันผิด        ถ้าทำได้ก็รู้เอง  เห็นเอง เข้าใจเอง  จะไม่อธิบายเพิ่ม  ทำไปเรื่อยๆ ผลจะเกิดเอง    แล้วแต่กำลังของบุคคลแตกต่างกันไป
ผลเบื้องต้น
   คือ  นิวรณ์    จะเบาบางลง  อันมี
    ๑.  กามฉันทะ    คือ   พอใจในกาม
    ๒.  พยาบาท      คือ   ความคิดร้าย
    ๓.  ถีนมิทธะ      คือ   ง่วงเซื่องซึม
    ๔.  อุทธัจจะ      คือ    ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ
    ๕.  วิกิจฉา        คือ    ความลังเลสงสัย

ผลเบื้องกลาง
     คือ  จิตจะเข้าสู่สมาธิขั้นสูง  จะรู้สึกเหมือนหยุดหายใจ  ไม่ต้องตกใจ   ไม่เป็นอันตรายเพียงแต่ไม่คุ้นชินกับสภาวะที่เกิด  แรกๆ อาจจะอึดอัด  เป็นเฉพาะแรกๆ เท่านั้น  ฝึกบ่อยๆ จะชินเอง

ผลเบื้องสูง
    คือ  ปรับใช้ตามสภาวะของบุคคลที่ต้องการจะไปไหน
     -  บุคคลทั่วไป     บุคคลทั่วไปในที่นี้  คือ   ผู้ฝึกสมาธิที่ต้องการเพียงความสงบ   ไม่ต้องการบรรลุอะไรซึ่งมีมากมาย  ปรับใช้ตามความรู้ก็ได้ คือ พรหมวิหารธรรม    อนุสติ  ๑๐ ( เว้นไว้ คือ  กสิน  ๑๐  อสุภะ ๑๐  ซึ่งเหมาะสำหรับขั้นสูง )  ใส่เข้าไป  จิตใจจะสงบและได้รับความสุขจากสมาธิ
     -  ผู้ที่ต้องการบรรลุมรรคผล  ให้ใส่ โพชฌงค์    เข้าไป  เป็นหัวใจแห่งการปฏิบัติ  มีดังนี้  คือ
       ๑.  สติสัมโพชฌงค์   คือ  มีสติระลึกถึงธรรมอยู่เสมอ
       ๒.  ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์  คือ  คิดค้นธรรมอยู่เสมอ
       ๓.  วิริยะสัมโพชฌงค์   คือ  มีความเพียรอยู่เสมอ
       ๔.  ปีติสัมโพชฌงค์  คือ  มีความอิ่มใจในธรรมทั้งหลายอยู่เสมอ
       ๕.  ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์   คือ  มีความสงบ  กาย  ใจ  อยู่เสมอ
       ๖.  สมาธิสัมโพชฌงค์  คือ  จิตตั้งมั่นอยู่เสมอ
       ๗.  อุเบกขาสัมโพชฌงค์  คือ  ปล่อยวางใจให้เป็นกลางอยู่เสมอ
       รวมๆ ความแล้ว  โพชฌงค์    คือ  การพิจารณาตัวเอง  มองตัวเองว่ายังขาดเหลืออะไร  ก็ใส่เข้าไปให้เต็ม   แต่ละอย่างแค่นั้นไม่มีอะไรมาก  การพิจารณาตัวเองถึงจะพ้นทุกข์ได้

     ผู้ที่ต้องการฤทธิ์
       ในส่วนเบื้องสูงนี้ผู้ที่ต้องการฤทธิ์นั้น  จะอธิบายเพิ่มว่า  ผมรวมเอาอะไรเข้าไปก่อนจะเข้าใจได้  สมถะกสิน ๑๐    คือ  การจุดเทียน  เป็นกสินอย่างอ่อน  ไม่เป็นอันตราย  อาโลกสิน     สติปัตตยฐาน         ใช้ธรรมมา    อาปานา  คือ   แทนที่จะดูลมหายใจ   ดูที่ธรรมแทน     วิปัสสนา  คือ    ไตรลักษณ์     อริยสัจ    ปฏิจฺจสมุปบาท  มีคุณลักษณะเฉพาะที่ไม่ลงเอยที่ ปฐมฌาณ     ตติยฌาณ        แต่จะลงเอยที่เดียว     คือ จตุตฌาณ  เมื่อถึงจตุตฌาณ เป็นฌาณ            ก็น้อมจิตไป เมื่อทำสิ่งเหล่านี้ได้  คือ  วิชชา ๓   วิชชา  อภิญญา     วิชชา คือ  ความรู้ยิ่ง  ถ้าจะเปรียบให้เข้าใจง่ายๆ คือ วิศวกร  ผู้รู้โครงสร้าง บ้านต่างๆ แต่ชาวบ้านทั่วไปไม่รู้  ความรู้เหล่านี้ต้องปฏิบัติมาแต่ละขั้น  เหมือนต้องเรียนมาเป็นลำดับ  วิชชาเหล่านี้เปรียบได้ดั่งดอกเตอร์แห่งจิต  สามารถใช้จิตได้อย่างเสรีมนุษย์ทั่วๆไปคิดว่าวิเศษมากมาย    แต่พระพุทธองค์ตรัสว่าของเด็กเล่น  หรือเรียกอีกอย่างว่า  ฌาณโลกีย์  มีวันเสื่อม  มนุษย์ทั่วๆ ไป ก็ฝึกได้     พระพุทธองค์บัญญัติพระวินัยไม่ให้สงฆ์แสดงฤทธิ์ เพราะเหตุจะเห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็นแก่นสารไป      ไม่ฝึกวิปัสสนาที่เป็นแก่นแท้พระเทวทัตเคยสำเร็จเหมือนกันยังทำผิดได้             ในส่วนนี้จะขออธิบายเฉพาะเจาะจงไปสำหรับผู้ปฏิบัติ     เพราะเหตุที่ไม่รู้จะมีใครทำหรือไม่  จะขอผ่านไปไม่เขียนไว้  ผู้ต้องการได้ฤทธิ์ ต้องผสมรวมกับอิทธิบาท   

  อิทธิบาท     คือ  เบื้องต้นของการสำเร็จฤทธิ์ต่างๆ มี
    -  ฉันทะ  คือ  พอใจ เมื่อรักทำสิ่งใดก็ทำสิ่งนั้นด้วยความชอบ  คือ ฝึกควบคุมจิตอยู่เสมอ
     -  วิริยะ  คือ  พากเพียร  พยายามทำเป็นประจำทุกวัน  มีเวลาที่แน่นอน  ไม่ขาดปล่อยปละละเลย
     -  จิตตะ  คือ  มีจิตตั้งมั่นที่จะทำให้สำเร็จ  ในการฝึกจิต  คือ ต้องทำให้ได้
     -   วิมังสา  คือ  จิตที่รวมเป็นหนึ่ง  ไม่สัดส่ายออกนอก  เป็นหนึ่งภายใน  คือ จตุตฌาณนั่นเอง
       อิทธิบาท    นี้ ทำไปเรื่อยๆ ผลต่างๆ จะเกิดเอง  ทำได้เองและยังมีวสีภาวะ    ประการ อีก   เรียกว่า 
ความชำนาญในการใช้  จะไม่กล่าวไว้  มีไว้สำหรับผู้ปฏิบัติ